วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2557

ระเบียบกองทุนที่ดินตำบลกระเทียม (ร่าง๑)


ระเบียบกองทุนที่ดินตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ (ร่าง ๑ /๑๐ ม.ค.๕๗ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องพิจารณา รายละเอียด แก้ไข คัดเลือกผู้ที่เหมาะสมเป็นคณะทำงาน และ ประชุมสรุป เพื่อกำหนดเป็นระเบียบข้อบังคับกองทุนที่ดินตำบลกระเทียมฉบับสมบูรณ์ ฉบับปฐมฤกษ์ต่อไป)

๑..ความเป็นมา ด้วยตำบลกระเทียมเป็นตำบลเกาแก่ เคยมีพื้นที่จำนวนมาก แต่จากการเฉยนิ่งต่อความเปลี่ยนแปลงทุกยุคทุกสมัย จึงทำให้ที่ดิน และ พื้นที่ตำบลกระเทียม หลุดมือไปจาก ตำบลกระเทียม ทั้งในรูปของการปกครอง และ เศรษฐกิจชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร เกิดหนี้สิน เกิดความขาดแคลนที่ดินทำกิน และ ที่อยู่อาศัย เป็นจำนวนมาก ขาดความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือ ทรัพย์สินเพิ่มจากที่ดินที่มีอยู่แลัว บางคนก็ได้ตั้งบ้านเรือน และ ทำกินในพื้นที่ประกาศสิทธิ์ทับซ้อน และ / หรือ ที่ว่างเปล่า หาความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินไม่ได้  ผู้ที่อยู่ในสถานะดังกล่าวจึงได้หาทางแก้ไขช่วยเหลือดิ้นรนให้มีสิทธิ์ในที่ดิน ใช้สิทธิ์ในที่ดินเอื้อความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต มีทั้งสำเร็จ และ ล้มเหลว ลำบาก เป็นหนี้ เวียนวนในชีวิต เมื่อได้รับแนวทางจากโครงการจัดการที่ดินที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน)ในปี ๒๕๕๕ ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการเรียนรู้เชิงบูรณาการกระเทียมรวมศิลป์(องค์กรสวัสดิการชุมชน) สภาองค์กรชุมชนตำบลกระเทียมจึงได้กระตุ้นให้ผู้ที่มีปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัย และอาสาพัฒนาอิสระในตำบลกระเทียม รวมตัวทำกิจกรรมจัดการตนเองด้านที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน หมู่บ้านแรกที่รวมตัวกันอย่างรวดเร็วเข้มแข็งเป็นรูปธรรม ในวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๗  คือ กลุ่มที่ดินบ้านโนนสง่า และมี ผู้สมัครเป็นสมาชิกเพิ่มจากหมู่บ้านอื่น ๆในตำบลเดียวกัน กลายเป็น กองทุนที่ดินตำบลกระเทียม ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๗ จึงมีการทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา กำหนด กฎระเบียบ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ขั้นตอน และวิธีการ ประกอบการดำเนินงาน ตามรายละเอียดต่อไป

๒..ขั้นตอน และวิธีการ จัดตั้งกองทุนที่ดิน                                                                                                                                                 ๒.๑..ค้นหาผู้มีปัญหาที่ดิน                                                                                                                                                        ๒.๒..แยกประเภทปัญหาที่ดิน                                                                                                                                                        ๒.๓..ทำทะเบียนผู้มีปัญหาที่ดิน                                                                                                                                                     ๒.๔..ศึกษาหาวิธีแก้ปัญหาที่ดินจากผู้มีประสบการณ์จากชาวบ้าน และ ขบวนที่ดินจังหวัด ภาค และ เอกสารต่าง ๆ                                                                                                                                                                                                                                 ๒.๕..ของบประมาณจาก พอช. จัดกระบวนการสร้างกลไกขับเคลื่อนการจัดการที่ดินอย่างเป็นระบบ และ ลอกเลียนแบบผู้มีประสบการณ์ ได้แก่การจัดเก็บข้อมูลที่ดินรายบุคคล รายครัวเรือน รายหน่วยงาน องค์กร ชุมชน          ๒.๖..กลไกข้อ ๔.๕ นำงาน ข้อ ๔.๑ / ๔.๒ / ๔.๓ มาปรับปรุง และพัฒนาต่อยอด ข้อ ๔.๔ ให้สอดคล้องกับบริบทตำบลกระเทียม ด้วยวิธีการใหม่ ดังนี้                                                                                                                                       ๒.๖.๑..สำรวจข้อมูลที่ดิน  รายบุคคล รายครัวเรือน รายหน่วยงาน องค์กร ชุมชน ตามแบบ พอช.                 ๒.๖.๒..วิเคราะห์ / สังเคราะห์ข้อมูลเท่าที่ได้                                                                                                                              ๒.๖.๓..จัดทำแผนที่ทำมือ                                                                                                                                                               ๒.๖.๔..จัดหาเครื่องจีพีเอส โดยประสานกับเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบล และ ที่ดินตำบลอำเภอสังขะ จัดหา เครื่องจีพีเอส ฝึกอบรม การใช้ เครื่องจีพีเอส และการจัดเก็บข้อมูลระบบ จีไอเอส                                                                         ๒.๖.๕..จัดตั้งกองทุนที่ดิน สร้างระเบียบ ข้อกำหนด กฎกติกากองทุนที่ดินตำบลกระเทียม โดยลอกเลียน แก้ไข ระเบียบข้อบังคับกองทุนที่ดิน ตำบลร่อนทอง อำเภอกระสัง จังหวัดสุรินทร์   ปรากฏ รายละเอียด ตามข้อ ๓                           ๒.๖.๖..นำกองทุนพัฒนาประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แก้ปัญหาที่ดินอย่างมีส่วนร่วมตามระเบียบกองทุนที่ดิน                            ๒.๖.๗..ติดตามประเมินผลการดำเนินงานทุกขั้นตอน                                                                                                              ๒.๖.๘..รายงาน ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณะได้รับรู้ ตรวจสอบ สนับสนุน และ ร่วมเป็นสมาชิกกองทุนที่ดิน                            ๒.๖.๙..หนุนเสริมการจัดสวัสดิการชุมชน / การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม / ศิลปวัฒนธรรมประเพณี /สังคม และเศรษฐกิจสมาชิก ตามรายละเอียดการจัดตั้งกองทุนที่ดินต่อไป 

 ๓.ระเบียบกองทุนที่ดินตำบลกระเทียม

 อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์         _____________________________________________________________________

 

หมวดที่ 1  -  บททั่วไป

 

ข้อที่ 1 ชื่อกองทุนที่ดินชุมชนตำบลกระเทียม

 

ข้อที่ 2 ที่ตั้ง ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการเรียนรู้ เชิงบูรณาการ – กระเทียมรวมศิลป์(องค์กรสวัสดิการชุมชน) 69   หมู่ 2 บ้านกระเทียม ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ รหัสไปรษณีย์ 32150 โทรศัพท์ 083 364 1182 email: ditdrorb@gmail.com

 

ข้อที่ 3 ระเบียบนี้ใช้บังคับเฉพาะกองทุนที่ดินชุมชนตำบลกระเทียม

 

ข้อที่ 4 วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนที่ดินชุมชนตำบลกระเทียม

            4.1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกรู้จักการออมและการพึ่งพาตนเอง

            4.2 เพื่อให้เป็นกองทุนที่สร้างหลักประกันให้เกิดความมั่นคงในด้านการจัดการที่ดินของชุมชนท้องถิ่นที่ยั่งยืน 

            4.3 เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงขบวนชุมชนท้องถิ่น ผู้นำ สมาชิกแต่ละหมู่บ้านได้มีโอกาสในการลุกขึ้นมาจัดการทรัพยากรฯของตนเองในท้องถิ่น

            4.4 เพื่อให้เกิดกลไกรองรับปัญหาการซื้อขายที่ดินกับนายทุนภายนอก ปัญหาที่ดินหลุดมือของสมาชิก ให้เกิดธนาคารที่ดินชุมชนตำบลร่อนทอง

 

การดำเนินงานกองทุน

 

                1.เป็นกองทุนหมุนเวียนของตำบล ภายไต้ระเบียบข้อบังคับกลุ่มกองทุนฯให้มีความมั่นคง

                2.ให้สมาชิกได้กู้ยืมไปเพื่อประกอบอาชีพโดยมีระเบียบในการกู้ การส่งคืน

3.เป็นกองทุนกลางที่มีการเชื่อมโยง การบูรณาการ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกกลุ่มใน  ตำบลกระเทียม

                4.เป็นกองทุนที่ส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรให้มีการวางแผนการผลิตและการตลาดในชุมชน

                       

การระดมทุน

                1.การออมสมทบจากสมาชิก

                2.การระดมหุ้น

                3.การบริจาค / กิจกรรมสาธารณะฯของกลุ่ม

                4.งบสมทบจากรัฐและท้องถิ่น

 

การกู้ยืม/การค้ำประกันและการส่งคืน

                1.กู้ได้เฉพาะผู้ที่เป็นสมาชิก และมีการออมเงินอย่างสม่ำเสมอเท่านั้น

                2.กู้ได้ไม่เกินคนละ....10,000 บาทตามมติคณะกรรมการกองทุนที่ดินตำบลร่อนทอง

                3.ต้องได้รับการค้ำประกันจาก สมาชิกกองทุนที่ดินและเอกสารประกอบการค้ำประกัน

                4.การส่งคืนสมาชิกต้องทยอยส่งเงินคืนทุกเดือนพร้อมกับการออมแต่ละเดือน

 

คณะกรรมการบริหารจัดการกองทุน

                1.ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการบริหารจัดการกองทุน

                2.คณะกรรมการบริหารจัดการฯมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี

                               

หมวดที่ 2  -  สมาชิก

 

                1.ต้องเป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในตำบลร่อนทองไม่ตำกว่า 1  ปี

                2.เป็นลักษณะกลุ่มองค์กร และ คณะบุคล ตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนมอบหมาย รับรอง

                3.ผู้ที่จะเป็นสมาชิกต้องมีการรับรองจากกลุ่มองค์กรสังกัดในระดับหมู่บ้านหรือกลุ่มบุคคลโดยผ่านมติการเห็นชอบคณะกรรมการกองทุนมากกว่าครึ่งหนึ่งรับรอง

                4.เป็นผู้ที่เข้าใจและถือปฏิบัติตามกฎระเบียบของกองทุน

 

สมาชิก

ข้อที่ 1 สมาชิก หมายถึง ผู้ที่ได้รับสมัครการลงทะเบียนเป็นสมาชิกแล้ว

 

ข้อที่ 2 ผู้สมัครเป็นสมาชิกต้องเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายโดยมีการออมร่วมเท่านั้น

 

ข้อที่ 3 สมาชิกจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้

            3.1 ต้องเป็นบุคคลที่มีความเสียสละ จริงใจและตั้งใจที่จะร่วมกิจกรรมของกลุ่ม

            3.2 ต้องเป็นบุคคลที่มีความประพฤติดีและปฏิบัติตามกฎระเบียบของกลุ่ม

            3.3 ต้องเป็นบุคคลที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่ม

            3.4 ต้องเป็นบุคคลที่รักษาชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของกลุ่ม

            3.5 ต้องเป็นบุคคลที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของกลุ่มให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย

 

ข้อที่ 4 การรับสมัครให้สมัครกับคณะกรรมการกองทุนที่ดินตำบลร่อนทอง

ข้อที่ 5 สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงด้วยเหตุนี้

            5.1 ตาย

            5.2 ลาออกโดยทำเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการ

            5.3 ขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกโดยผิดกฎหมายระเบียบข้อบังคับที่ได้กำหนดไว้ 14 ข้อ จะ         ภายในข้อใดข้อหนึ่งและขาดการส่งเงินติดต่อกัน 3 ครั้ง

 

ข้อที่ 6 สมาชิกมีสิทธิ์ภายในกลุ่มดังต่อไปนี้

            6.1 มีสิทธิ์เข้าสถานที่ต่างๆ ของกลุ่มโดยเท่าเทียมกัน

            6.2 มีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของกลุ่ม

            6.3 มีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมประจำเดือนและประชุมใหญ่ของกลุ่ม

            6.4 มีสิทธิ์ขอตรวจสอบเอกสารและบัญชีทรัพย์สินต่างๆ ของกลุ่ม

            6.5 มีสิทธิ์ออกเสียงลงมติต่างๆ ในที่ประชุมของกลุ่ม

 

ข้อที่ 7 วินัยและจรรยาบรรณของสมาชิกกองทุนแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย

            7.1 สมาชิกต้องไม่กระทำการใดๆ ที่ก่อให้เกิดความแตกแยกและแตกความสามัคคี

            7.2 สมาชิกต้องไม่วิพากษ์วิจารณ์กลุ่มในทางเสียหายต่อบุคคลภายนอก

            7.3 สมาชิกต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์ในทางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเองและผู้อื่น

 

หมวดที่ 3  -  คณะกรรมการ

 

ข้อที่ 1 ให้มีคณะกรรมการทำงาน 1 ชุด ให้ทำหน้าที่ในการบริหารกิจกรรมภายในกลุ่มโดยมีจำนวน อย่างน้อย 10 คน อย่างมากไม่เกิน 20 คน คณะกรรมการนี้ได้มาจากการเลือกตั้งของที่ ประชุมใหญ่ของคณะทำงานยุทธศาสตร์ที่ดินตำบลร่อนทอง

            กลุ่มจะให้ในที่ประชุมใหญ่เลือกที่ละตำแหน่งหรือให้ผู้ที่ได้รับคัดเลือกมาเลือกกันเองก็ได้

 

ตำแหน่งคณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

            1.1 ประธานกลุ่ม  ทำหน้าที่ในการบริหารงานในกลุ่มเป็นผู้แทนกลุ่มในการติดต่อประสานงานกับภาคีทั้งภายในและภายนอกทำหน้าที่ประธานในการประชุมคณะกรรมการ ประชุมประจำเดือน และประชุมใหญ่ของกลุ่ม

            1.2 รองประธานทำหน้าที่ผู้ช่วยประธานกลุ่มในการบริหารจัดการกลุ่มและปฏิบัติหน้าที่แทนประธานตามที่ได้รับมอบหมายหรือประธานกลุ่มไม่อยู่หรือประธานกลุ่มไม่สามารถทำหน้าที่ได้

            1.3 เลขานุการ  ทำหน้าที่เกี่ยวกับธุรการของกลุ่มทั้งหมดและเป็นหัวหน้าสมาชิกของกลุ่มในการทำกิจกรรมต่างๆ ตามคำสั่งของประธานกลุ่ม  และทำหน้าที่ในการจดบันทึกการประชุมต่างๆ ของกลุ่ม

            1.4 เหรัญญิก  ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของกลุ่มเป็นผู้กระทำบัญชี รายรับ-รายจ่าย-งบดุลของกลุ่ม

            1.5 คณะกรรมการอื่นๆ ตามความเหมาะสม แต่ต้องไม่เกินจำนวนที่ข้อบังคับได้ตั้งไว้

 

ข้อที่ 2  คณะกรรมการของกลุ่มสามารถอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 4 ปี เมื่อคณะกรรมการอยู่ในตำแหน่งครบตามวาระ หากคณะกรรมการชุดใหม่ยังไม่พร้อมในการมาปฏิบัติหน้าที่ ให้คณะกรรมการที่ครบวาระรักษาการไปจนกว่าคณะกรรมการชุดใหม่จะพร้อมและให้ทำการส่งมอบเอกสารต่างๆ ภายใน 30 วัน

 

ข้อที่ 3 คณะกรรมการของกลุ่มสามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งภายในช่วงที่ดำรงตำแหน่งโดยให้เป็นมติของคณะกรรมการแล้วให้แจ้งต่อสมาชิกภายใน 1 เดือน

 

ข้อที่ 4 ตำแหน่งคณะกรรมการของกลุ่มหากว่างลงก่อนกำหนดการครบวาระที่ดำรงตำแหน่งโดยให้คณะกรรมการแต่งตั้งสมาชิกคนใดคนหนึ่งขึ้นมาแทนในตำแหน่งที่ว่างและดำรงตำแหน่งแทนตามที่วาระยังเหลืออยู่เท่านั้น

 

ข้อที่ 5 คณะกรรมการพ้นตำแหน่งตามวาระสามารถได้รับคัดเลือกให้มาดำรงตำแหน่งได้อีก

 

ข้อที่ 6 คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

            6.1 ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับและแนวนโยบายของกลุ่ม

            6.2 ให้กำหนดนโยบายและวิธีการทำงานของกลุ่ม

            6.3 ให้พิจารณารับหรือให้สมาชิกพ้นจากการเป็นสมาชิก

            6.4 ให้ออกกฎหมายระเบียบต่างๆ เพื่อนำมาปฏิบัติตามข้อบังคับ

 

ข้อที่ 7 คณะกรรมการอาจพ้นจากตำแหน่งซึ่งมิใช่ออกตามวาระด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

            7.1 ตาย ลาออก

            7.2 ขาดการเป็นสมาชิก

            7.3 ที่ประชุมใหญ่มีมติให้ออกจากตำแหน่งโดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน4 ของสมาชิกผู้เข้าร่วม ประชุมในครั้งนั้น

            7.4 เป็นผู้ที่ทำให้กลุ่มเสื่อมเสียในทางตรงและทางอ้อมให้คณะกรรมการมีมติให้ออกด้วยคะแนน เสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนคณะกรรมการที่มีอยู่

 

 

หมวดที่ 4  -  การประชุม

 

ข้อที่ 1 การประชุมโดยแบ่งออกเป็น 2 อย่าง ดังนี้

1.1 การประชุมใหญ่สามัญประจำปี ประชุมเมื่อครบปี โดยจัดให้มีการประชุมภายในเดือนธันวาคมของทุกปี

1.2 การประชุมย่อย   

       - เมื่อสมาชิกเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดต้องการให้มีการประชุม

                - เมื่อคณะกรรมการต้องการให้มีการประชุม (ด่วน)

 

ข้อที่ 2 ให้ประธานกรรมการกำหนดวันเวลาและสถานที่การประชุม

 

หมวดที่ 5  -  การเงิน

 

ข้อที่ 1 การถือหุ้นๆ ละ 10 บาท

1.1 การถือหุ้นแรกเข้าสมาชิกต้องถือหุ้นครั้งแรกอย่างต่ำ 36 หุ้น เป็นเงิน 360 บาท พร้อมกับจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้า 20 บาท

1.2 การถือหุ้นรายเดือนสมาชิกต้องถือหุ้นอย่างต่ำเดือนละ 5 หุ้น เป็นเงิน 50 บาท

 

ข้อที่ 2 สมาชิกแต่ละรายต้องสะสมหุ้นให้ครบระยะเวลา 1 เดือน/ปี  จึงจะมีสิทธิ์กู้ยืมได้

 

ข้อที่ 3 สมาชิกขาดส่งเงินติดต่อกัน 3 เดือน ขาดการเป็นสมาชิกพร้อมกับชดใช้ภาระหนี้สินที่ค้างอยู่กับกลุ่มให้หมดภายใน 30 วัน/เดือน

 

ข้อที่ 4 เงินทุนหมุนเวียนได้มาจากเงินสะสมของสมาชิกภาคเอกชน ภาครัฐ ท้องถิ่น

 

ข้อที่ 5 การส่งเงินทุกประเภทต้องส่งให้เสร็จภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน

 

ข้อที่ 6 การกู้ยืมเงินให้ยื่นคำร้องขอกู้ต่อคณะกรรมการภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน

 

ข้อที่ 7 การกำหนดวงเงินกู้ยืมให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการแต่ต้องไม่เกินรายละ 50,000 บาท

 

ข้อที่ 8 หากสมาชิกขาดส่งเงินบ่อย ขาดประชุม ขาดการเข้าร่วมกิจกรรมภายในกลุ่มจะมีผลต่อการขอกู้ยืมเงิน

 

ข้อที่ 9 หากสมาชิกยังค้างเงินกู้อยู่จะขอกู้ยืมใหม่ไม่ได้

 

ข้อที่ 10  หากมีกรณีจำเป็นให้เขียนบทเฉพาะกาลแล้วเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ที่ดินตำบลกระเทียมเห็นชอบ      

 

 

 

หมวดทที่ 6  -  การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับ

 

ข้อที่ 1 ข้อบังคับกลุ่มจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข โดยมติที่ประชุมใหญ่เท่านั้น และองค์ประชุมใหญ่จะต้องไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดและมติที่ประชุมใหญ่จะต้องไม่น้อยกว่า 2 ใน 3  ของสมาชิกที่ เข้าร่วมประชุม

 

ข้อที่ 2 การยุบ การเลิกกลุ่ม

            2.1 ให้ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด (ยกเว้นการเลิกเพราะเหตุผลทางกฎหมาย) 

            2.2 ให้คณะกรรมการมีมติให้ความเห็นชอบไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของคณะกรรมการทั้งหมด

 

ข้อที่ 3 เมื่อกลุ่มล้มเลิกไม่ว่าจะกรณีใดๆ ก็ตามให้ทรัพย์สินที่มีอยู่ของกลุ่มหลังจากที่หักหรือชำระบัญชีหนี้สินเรียบร้อยแล้วให้ทรัพย์สินตกเป็นขององค์กรการกุศลตามมติของคณะกรรมการกลุ่ม

 

ข้อที่ 4  กฎระเบียบข้อบังคับนี้ให้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่สมาชิกกลุ่มมีมติเห็นชอบ

 

หมวดที่ 7  -  บทสุดท้าย

 

         เมื่อมีปัญหาที่จะต้องตีความในข้อบังคับนี้ให้คณะกรรมการกลุ่มทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เป็นผู้มีอำนาจตีความแล้วให้ถือเป็นที่สิ้นสุด

 

 

ลงชื่อ...........................................

(                                         )

ประธานกองทุนที่ดินตำบลกระเทียม

 

 

ประกาศ

 

คณะทำงานแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยตำบลกระเทียม

เรื่องรายชื่อคณะกรรมการกองทุนที่ดินตำบลกระเทียม  มีรายชื่อดังต่อไปนี้

 

ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ตำแหน่ง
อาชีพ
1
 
ประธาน
เกษตรกรรม
2
 
รองประธาน
เกษตรกรรม
3
 
เหรัญญิก
เกษตรกรรม
4
 
เลขานุการ
เกษตรกรรม
5
 
ผู้ประสานงาน
เกษตรกรรม
6
 
ที่ปรึกษา
ผอ.โรงเรียนร่อนทอง
7
 
ที่ปรึกษา
นายกอบต.ร่อนทอง
8
 
กรรมการ
เกษตรกรรม
9
 
กรรมการ
เกษตรกรรม
10
 
กรรมการ
เกษตรกรรม
11
 
กรรมการ
เกษตรกรรม
12
 
กรรมการ
เกษตรกรรม
13
 
กรรมการ
เกษตรกรรม
14
 
กรรมการ
เกษตรกรรม
15
 
กรรมการ
เกษตรกรรม
16
 
กรรมการ
เกษตรกรรม
17
 
กรรมการ
เกษตรกรรม

 

มีบทบาทหน้าที่ดังต่อไปนี้

1 ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับและแนวนโยบายของกลุ่ม

             2 ให้กำหนดนโยบายและวิธีการทำงานของกลุ่ม

              3 ให้พิจารณารับหรือให้สมาชิกพ้นจากการเป็นสมาชิก

              4 ให้ออกกฎหมายระเบียบต่างๆ เพื่อนำมาปฏิบัติตามข้อบังคับ

 

ประกาศ ณ.วันที่ 1 มกราคม 2557

 

ลงชื่อ.........................................................

(                                        )

ประธานกองทุนที่ดินตำบลกระเทียม

 

 

 

 

ข้อเสนอแนะ ระเบียบกองทุนที่ดินตำบลกระเทียม ฉบับร่าง เพื่อดำเนินการขั้นต่อไป

หมวดที่ .........ข้อที่..... เสนอให้แก้ไขเป็น ................................................................................................................  ................................................................................................................................................................................................

หมวดที่ .........ข้อที่..... เสนอให้แก้ไขเป็น ................................................................................................................  ................................................................................................................................................................................................

หมวดที่ .........ข้อที่..... เสนอให้แก้ไขเป็น ................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................................

หมวดที่ .........ข้อที่..... เสนอให้แก้ไขเป็น ................................................................................................................  ................................................................................................................................................................................................

หมวดที่ .........ข้อที่..... เสนอให้แก้ไขเป็น ................................................................................................................  ................................................................................................................................................................................................

หมวดที่ .........ข้อที่..... เสนอให้แก้ไขเป็น ................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................................

หมวดที่ .........ข้อที่..... เสนอให้แก้ไขเป็น ................................................................................................................  ................................................................................................................................................................................................

หมวดที่ .........ข้อที่..... เสนอให้แก้ไขเป็น ................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................................

 

ข้อเสนอแนะทั่วไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อเสนอแนะของท่านจะนำมาพิจาณาสรุปร่วมกับการประชุมสภาองค์กรชุมชน ขบวนที่ดิน และคณะทำงานโครงการจัดการแก้ไขปัญหาที่ดินตำบลกระเทียม เพื่อสรุปบทเรียนการทำงานขบวนองค์กรชุมชนตำบลกระเทียม ซึ่งเลขาสภาองค์กรชุมชนจะแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไป